วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ซอฟต์แวร์ระบบ (system software)

..........ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
..........เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่
..........ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่างๆ
....
..........หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
.........1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
.........2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
.........3. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
..
..........ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็น
..........1. ระบบปฏิบัติการ
.......... ...ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)
.............1) ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
.............2) วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
.............3) โอเอสทู เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน และการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
.............4) ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่อปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ วินโดว์สเอ็น
...
..........2. ตัวแปลภาษา
.............ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก
.............1) ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง เขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
.............2) ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
.............3) ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
.............4) ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก
..........นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาอาร์พีจ

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หน้าที่ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ

หน้าที่ของ CPU


1. อ่านและแปลคำสั่งที่เขียนไว้ในโปรแกรม
2. ประมวลผลตามคำสั่งที่เขียนไว้ในโปรแกรม
3. รับส่งข้อมูลโดยติดต่อกับหน่วยความจำภายในเครื่อง
4. ติดต่อรับส่งข้อมูลกับผู้ใช้ โดยผ่านหน่วยนำข้อมูลเข้า/ออก
5. ย้ายข้อมูลและคำสั่งจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่ง


หน้าที่ของ RAM


ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น


หน้าที่ของ ROM


เก็บโปรแกรมคำสั่งเริ่มต้นในการบูตเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำการตรวจสอบอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทุกระบบ ถ้าพบข้อผิดพลาดจะแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ


หน้าที่ของ HDD


หน้าที่โดยตรงของ HDD คือ การเก็บสำรองข้อมูลสำคัญๆ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Application Software ต่างๆ และข้อมูลส่วนบุคคลที่บันทึกลงใน HDD


หน้าที่ของ Mother broad


ทำหน้าที่ประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกัน ได้แก่ CPU , Memory , Slot รวมทั้งการ์ดเสริมต่าง ๆ

หน้าที่ของ Bios

1. ตรวจสอบอุปกรณ์ หลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ 2. กำหนดค่าเริ่มต้นของอุปกรณ์บางชนิด เช่น การ์ดจอหรือการ์ดเสียง ที่ติดตั้งเข้ามาในเครื่องโดยใช้ระบบPlug and Play เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำงานร่วมกันได้ 3. แสดงรายงานผลการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ในเครื่อง 4. ค้นหา และโหลดโปรแกรมสำหรับบู๊ตจากไดร์ฟ C หรือไดร์ฟที่บู๊ตได้เพื่อให้โปรแกรมดังกล่าวโหลดระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน

หน้าที่ของ Head sink

ระบายความร้อนออกจากตัวอุปกรณ์ ชนิดต่างๆ เช่น CPU และชิปเซ็ท รวมทั้งอุปกรณ์อิเลคทรอนิคอื่นๆ

หน้าที่ของ VGA card

ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณ digital ให้เป็นสัญญาณภาพ โดยมี Chip เป็นตัวหลักในการประมวลการแปลงสัญญาณ

หน้าที่ของ Power supply

ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้กับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้

ความแตกต่างระหว่าง Serial port กับ parallel port

Parallel Port หรือ พอร์ตขนาน( LTP Port หรือ Printer Port ) เป็นมาตรฐานในการรับส่งข้อมูล มีจำนวนขา 25 Pin ที่มาของคำว่า parallel มาจากการรับส่งข้อมูลในลักษณะขนาน 8 bit(1 byte)ใน 1 ครั้ง ในระยะแรกเราใช้พอร์ตขนานในการส่งข้อมูลในการพิมพ์(Unidirectional Port) สามารถรับข้อมูลได้เพียง 4 bit มีอัตราการรับข้อมูลที่ 150 KB/s โดยสายพอร์ตขนานมีความยาวได้ถึง 3 - 4.5 เมตร แต่เพื่อประสิทธิภาพและความเร็วที่ดี ไม่ควรยาวเกิน 2 เมตร
Serial Port หรือ พอร์ตอนุกรม( COM Port หรือ RS-232C Port ) เป็นมาตรฐานในการรับส่งข้อมูล มีจำนวนขา 9 Pin อัตราการถ่ายโอนข้อมูลที่ 115 KB/s สามารถสื่อสารได้ไกลกว่า และปรับเปลี่ยนได้มากกว่าพอร์ตขนาน โดยสายพอร์ตอนุกรมมีความยาวได้ถึง 15 เมตร ที่มาของคำว่า serial มาจากการส่งผ่าน bit เป็นแบบอนุกรม 1 bit ใน 1 ครั้ง โดยใช้กับอุปกรณ์สื่อสารเช่น Mouse , Modem , Serial Printer ,Digital Camera

นางสาวภัทรวดี พุทธิ

รหัส 49043494349

sec.02 (เรียนวันจันทร์บ่าย)