วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วิธีการเข้าหัวสายแลน และเทคโนโลยีเครือข่าย

วิธีการเข้าหัวสายแลนแบบตรงและแบบไขว้

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องใช้
1. สายแลน ความยาวตามความต้องการ
2. คริมเข้าหัว RJ-45
3. หัว RJ-45
วิธีการเข้าหัวสายแลน
1. ปลอกเปลือกนอกของสายแลนออก โดยให้ห่างจากปลายประมาณ 1 นิ้ว ใช้คัตเตอร์หรือมีดที่ตัดมากับคริมปลอก ระวังอย่าให้สายขาด แต่พอเรียงเสร็จแล้วก่อนเข้าหัวให้ตัดให้เสมอกันประมาณ 1 ซ.ม.
2. คลายเกรียวออกทั้งหมด

3. จัดเรียงลำดับสายใหม่ ดังนี้
"สายแบบตรง"ให้เรียงแบบนี้ทั้งสองข้าง
ขาวส้ม,ส้ม,ขาวเขียว,ฟ้า,ขาวฟ้า,เขียว,ขาวน้ำตาล,น้ำตาล
"สายแบบไขว้" ให้เรียงข้างหนึ่งเป็น ขาวส้ม,ส้ม,ขาวเขียว,ฟ้า,ขาวฟ้า,เขียว,ขาวน้ำตาล,น้ำตาล
และอีกข้างหนึ่งเป็น ขาวเขียว,เขียว,ขาวส้ม,ฟ้า,ขาวฟ้า,ส้ม,ขาวน้ำตาล,น้ำตาล
4. หลังจากที่เรียงสายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้จับสายให้แน่นระวังอย่าให้สลับกัน แล้วสอดเข้าไปในหัวRJ-45 ให้สุดปลอก ดูว่าสายทุกสีเข้าให้สุดปลอกด้วย

5. นำสายที่สอดเข้าไปในหัว RJ-45 เรียบร้อย เข้าคริมแล้วบีบให้สุดแรงเกิด(แรงเท่าที่จะแรงได้)


เทคโนโลยีเครือข่าย

เทคโนโลยีเครือข่าย ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในหน่วยงานประเภทต่างๆ มากมาย ซึ่งมีผลทำให้การทำงานในองค์กรหรือหน่วยงาน สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ และสามารถพัฒนาการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในองค์กร หรือหน่วยงานก็เริ่มมีการพัฒนาขึ้นแทนที่จะใช้ในลักษณะหนึ่งเครื่องต่อหนึ่งคน ก็ให้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ มาเชื่อมต่อกัน เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เป้าหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. มีการใช้ทรัพยากรทางฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ร่วมกัน เนื่องจากอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดราคาค่อนข้างสูง เพื่อให้ใช้ทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการนำเอาอุปกรณ์เหล่านั้นมาใช้ร่วมกันเป็นส่วนกลาง เช่น เครื่องพิมพ์,พลอตเตอร์,ฮาร์ดดิสก์ และโปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น
2 สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ สำหรับทุกคนที่อยู่ในระบบเครือข่าย โดยไม่ต้องสนใจว่าข้อมูลเหล่านี้จะเก็บอยู่ที่ใด เช่น ผู้ใช้คนหนึ่งอาจจะอยู่ห่างจากสถานที่ที่เก็บข้อมูลถึง 1000 กิโลเมตร แต่เขาก็สามารถใช้ข้อมูลนี้ได้เหมือนกับข้อมูลเก็บอยู่ที่เดียวกับที่ๆ เขาทำงานอยู่ และยังสามารถกำหนดระดับการใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ ซึ่งจะเป็นการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลซึ่งอาจเป็นความลับ
3. การติดต่อระหว่างผู้ใช้แต่ละคนมีความสะดวกสบายขึ้น หากผู้ใช้อยู่ห่างกันมาก การติดต่ออาจไม่สะดวก ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีบทบาทในการเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งอาจจะเป็นการติดต่อในลักษณะที่ผู้ใช้ที่ต้องติดต่อด้วยไม่อยู่ ก็อาจฝากข้อความเอาไว้ในระบบ เมื่อผู้ใช้คนนั้นเข้ามาใช้ระบบก็จะมีการแจ้ง ข่าวสารนั้นทันที

การแบ่งประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้ตามลักษณะต่างๆ ดังนี้คือ
1. ตามขนาด: แบ่งเป็น Workgroup , LAN , MAN และ WAN
2. ลักษณะการทำงาน: แบ่งเป็น peer-to-peer และ client-server
3. ตามรูปแบบ: แบ่งเป็น Bus ,Ring และ Star
4. ตาม bandwidth: แบ่งเป็น baseband และ broadband หรือว่าเป็น megabits และ gigabits
5. ตามสถาปัตยกรรม: แบ่งเป็น Ethernet หรือ Token-Ring

ในปัจจุบันเรานิยมจัดประเภทของเครือข่ายตามขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ระบบเครือข่ายนั้นครอบคลุมอยู่ ได้แก่
1. ระบบเครือข่ายระยะใกล้ (LAN : Local Area Network) เป็นเครือข่ายซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดเชื่อมโยงกันอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กัน เช่น อยู่ภายในแผนกเดียวกัน อยู่ภายในสำนักงาน หรืออยู่ภายในตึกเดียวกัน
2. ระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN : Wide Area Network) เป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยเครือข่าย LAN ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไปเชื่อมต่อกันในระยะทางที่ไกลมาก เช่น ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ
3. ระบบเครือข่ายบริเวณเมืองใหญ่ (MAN : Metropolitan Area Network) เป็นระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจตั้งอยู่ห่างไกลกันในช่วง 5 ถึง 50 กิโลเมตร ผู้ใช้ระบบเครือข่ายแบบนี้มักจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่จำเป็นจะต้องติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ด้วยความเร็วสูงมาก โดยที่การสื่อสารนั้นจำกัดอยู่ภายในบริเวณเมือง



สิ่งที่ได้จากการสอบเข้าหัวสายแลน คือ
1. ได้รู้เทคนิคต่างๆเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าหัวสายแลน
2. ได้ประสบการณ์ในการเข้าหัวสายแลนจริงๆว่าควรทำอย่างไร
3. ได้รู้ว่าควรสอบครั้งเดียวต้องให้ผ่านเลยไม่งั้นจะโดนหักคะแนน







ภัทรวดี พุทธิ
49043494349
Sec.03










7 ความคิดเห็น:

  1. เย้...ทำงาน Blog ของอาจารย์กัลยรัตน์เสร็จแล้วดีใจจัง
    ปิดหลายวันนี้จะได้ไม่มีการบ้าน

    ......เพื่อนๆที่เข้ามาดู...........
    ................ช่วยคอมเม้นให้ด้วยนะค่ะ..........
    ................................ขอบคุณค่ะ.........

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ1 ธันวาคม 2552 เวลา 19:35

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ขอให้ผ่านทุกวิชานะ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณคับ
    ข้อมูลสั้น เข้าใจง่ายดีคับ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ1 ธันวาคม 2552 เวลา 20:36

    กำลังหาข้อมูลอยู่พอดีเลย

    เข้าใจง่ายมากๆๆเลยค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  5. โห้เพ่.....

    ขอบคุนนะคับ สำหรับเนื้อหาอ่ะ


    ผมกำลังหาข้อมูลเนื้อหาทำรายงานพอดีลูกเพ่

    ขอบใจหลายๆ เด้อ เพ่ล้นซ่าๆๆ

    ตอบลบ